วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556






รายวิชาภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การผันวรรณยุกต์  ชั้นประมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง  การผันวรรณยุกต์  เวลา  6 ชั่วโมง




สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
        การสะกดคำนั้น จำเป็นต้องรู้จักการผันวรรณยุกต์ ซึ่งการผันวรรณยุกต์ให้ถูกต้องจะต้องเข้าใจเรื่องไตรยางค์ และคำเป็น คำตาย
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
      -  ตัวชี้วัด           ท 4.1  ป.4/1  สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่างๆ    
      -  จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. อ่านและเขียนคำที่มีรูปและเสียงวรรณยุกต์ต่างๆได้ถูกต้อง 
         2. จำแนกคำเป็นหรือคำตายได้

สาระการเรียนรู้
      -  สาระการเรียนรู้แกนกลาง       
           1. การผันอักษร
           2. คำเป็นคำตาย





สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
        - ความสามารถในการสื่อสาร      
             - ความสามารถในการคิด         
             - ทักษะการคิดวิเคราะห์
             - ทักษะการคิดสร้างสรรค์
        - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต         

             - กระบวนการทำงานกลุ่ม
             - กระบวนการปฏิบัติ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
        1. มีวินัย
        2. ใฝ่เรียนรู้
        3. มุ่งมั่นในการทำงาน
        4. รักความเป็นไทย

กิจกรรมการเรียนรู้
           (วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติกระบวนการกลุ่ม)นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การวัดผลและประเมินผล


วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์
 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.1
 ใบงานที่ 1.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.2
 ใบงานที่ 1.2
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 3.1 เรื่อง การ
 ผันวรรณยุกต์
 แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 3.1 เรื่อง การ
 ผันวรรณยุกต์
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
 - สื่อการเรียนรู้    
      1. หนังสือเรียน ภาษาไทย (หลักภาษาและการใช้ภาษา)  ป.4
      2. แบบฝึกหัด ภาษาไทย ป.4
      3. แผนภูมิไตรยางศ์
      4. บัตรคำ
      5. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง คำเป็น คำตาย
      6. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง วรรณยุกต์
 
 -  แหล่งการเรียนรู้
       1. ห้องสมุด
       2. อินเทอร์เน็ต








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น